นโยบายโรงเรียนกุดบงพิทยาคาร
- จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมเด็กกลุ่มทั้งปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษและพร้อมที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๔๕) อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- พัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นการนำหลักการไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ครบวงจร การแสวงหาและเผยแพร่วิธีการที่ได้ผล โดยเป็น โรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ มีครูแกนนำและครูเครือข่ายในแต่ละสาขา มีความพร้อมในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนติด "ศูนย์" "ร" ไม่เกินร้อยละ ๒ ผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละ ระดับสูงขึ้น
- เร่งปรับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ปรับปรุงมาตรฐานที่ด้อยจากการ ประเมินของ สมศ. โดยมีการวางแผนกลยุทธ์รองรับและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในอย่าง
ต่อเนื่อง
- พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน SBM.
(School Base Management)
- พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเก็บข้อมูลในการศึกษาและติดตามนักเรียน นักเรียนทุกคน ที่จบ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สามารถใช้โปรแกรม Word Processing และ
ตารางการคำนวณได้ ครูทุกคนใช้คอมพิวเตอร์และใช้อินเตอร์เน็ต โรงเรียนมีเว็บไซต์ของตนเอง และ
ใช้งานอย่างต่อเนื่อง
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ
- เร่งระดมทรัพยากรจากบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
มาใช้ในการจัดการและพัฒนาการศึกษา
- เร่งพัฒนาครูให้มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอ เกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างครบวงจร เสริมสร้างวิสัยทัศน์และ
จิตสำนึกของครูอาจารย์ ในการพัฒนาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
- ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้เข้าประกวดและแข่งขันผลงานทั้งระดับท้องถิ่นและ
ระดับประเทศ
- ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานและผลงานของโรงเรียนในรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสม
ทันเวลาและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ และรับทราบผลการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน
นโยบายส่งเสริมโรงเรียนปลอดจากอบายมุข
- จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตลอดจนติดตามการแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติด และ
อบายมุข
- ส่งเสริมการจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อต่อต้านยาเสพติด ตลอดจนจนเสริมสร้าง การมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน ในการป้องกันยาเสพติด
- ประกาศให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนสีขาว
- แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนเพื่อดำเนินการฝ่ายกิจการนักเรียน และจัดการแต่งตั้งสารวัตร นักเรียนเพื่อสอดส่องดูแลความประพฤติ และพฤติกรรมเสี่ยง
- สนับสนุนกิจกรรมอันแสดงออกซึ่งความสามารถของนักเรียนทุกด้าน ประกาศและ ยกย่องคุณความดีหรือความสามารถของนักเรียน เพื่อเสริมสร้างกำลังใจต้านภัยยาเสพติด
- จัดระบบการศึกษาเพื่อให้ได้รับรู้ และตระหนักต่อโทษของยาเสพติดตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ ไปประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในครอบครัวและชุมชน
นโยบายส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
- ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและปรับปรุงอาคาร สถานที่ ให้อยู่ในสภาพดี ร่มรื่น น่าอยู่น่าเรียน ใช้งานได้ และปลอดภัย
- ส่งเสริมการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยและการบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้
- จัดระบบดูแล และรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณโรงเรียน
- สนับสนุนโครงการ และกิจกรรมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดการ ติดตามผลการดำเนินงาน
- รณรงค์และเสริมสร้างพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้กฎและสัญญาณจราจร ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
- จัดกิจกรรมรักษ์โรงเรียน เพื่อปลูกฝังนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
นโยบายคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
๑. จัดการพัฒนาและปรับปรุงสถานประกอบการด้านสาธารณูปโภคในสถานศึกษา ให้อยู่ใน
สภาพดี สะอาด ถูกสุขอนามัย และพร้อมให้บริหารอย่างพอเพียง
๒. แต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในสถานศึกษา เพื่อสอดส่องดูแลการให้บริการ
ด้านอนามัยอาหารและอื่น ๆ
๓. จัดระบบและข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบการอาหาร เพื่อผลประโยชน์ทางด้านสุขภาพ
และอนามัยของบุคลากรในโรงเรียน
๔. ส่งเสริมและให้ความรู้ด้านสุขอนามัย ตลอดจนเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยที่ดีงาม
ในการอุปโภคบริโภค
๕. จัดกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการควบคุม ตรวจสอบ
และรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่สะอาดและถูกหลักอนามัย
นโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
๑.มุ่งเน้นจัดการบูรณาการกลุ่มสาระวิชาเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย และเกิดทักษะในการดำรงชีวิต
๒. ส่งเสริมการให้บริการ การปรึกษาทางด้านสุขภาพ และอนามัยในโรงเรียน อย่างทั่วถึง ตลอดจนติดตามและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดกับบุคลากรในโรงเรียนตามสภาพความพร้อม
๓. มุ่งพัฒนาและปรับปรุงสถานบริการด้านสุขภาพในโรงเรียนให้มีคุณภาพ และรองรับการใช้บริการอย่างพอเพียง
๔. ส่งเสริมการจัดโครงการและกิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างครูและนักเรียน ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน
๕.เร่งระดมทรัพยากรจากทั้งในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการจัดการและพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพ
๖. จัดระบบการเรียนรู้ ให้ข้อมูล เผยแพร่ ตลอดจนรณรงค์ให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมี พฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ